09 ตุลาคม 2550

การผลิตสื่อโสตทัศน์


ทัศนลักษณ์ของสื่อโสตทัศน์
.....สื่อโสตทัศน์ส่วนมากเป็นสื่อที่ใช้ร่วมกับสื่ออื่น จึงต้องผลิตออกมาในรูปแบบที่สอดคล้อง หรือพร้อมที่จะถ่ายโอน (Transfer) ไปสู่ระบบสื่อนั้น ๆ ได้
.....ในด้านทัศนลักษณ์ของสื่อโสตทัศน์จะต้องเน้นให้สอดคล้องกับลักษณะระบบการสอนผ่านจอภาพ องค์ประกอบของทัศนลักษณ์ควรประกอบด้วย สัญลักษณ์ มทส ขนาดและความยาว พื้นที่ซ้อนภาพ
1.สัญลักษณ์ มทส (SUT Logo)
...สื่อโสตทัศน์ทุกรูปแบบ.ทุกชิ้นที่เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยควรมีสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ปรากฏกำกับอยู่ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ความเป็นเจ้าของ.และแสดงสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์ต้นแบบชิ้นงาน
2.ขนาดและความยาว
...ขนาด หมายถึง ขนาดของภาพที่จะปรากฏบนสื่อพิมพ์ จะต้องมีรูปแบบและขนาดไม่หลากหลายจนเกินไป..รูปแบบและขนาดของภาพนี้จะต้องมีความคล่องตัวที่จะแปลงไปปรากฏบนจอภาพได้ โดยง่ายและลงตัว ดังนั้น ไม่ว่าภาพต้นแบบจะมีขนาดและลักษณะอย่างไรก็ตาม จะต้องแปลงมาเป็นภาพดิจิทัล กราฟิก หรือบิตแมบ
ความยาว หมายถึง ความยาวของสื่อเสียง และภาพเคลื่อนไหว ควรจะมีลักษณะสั้นกะทัดรัด ถ้าเป็นการบรรยาย หรืออภิปรายยาว ก็ควรจะมีลักษณะที่สามารถตัดตอนเป็นช่วง ๆ ที่มีความยาวเหมาะสมที่จะ ถ่ายโอนไปลงในไฟล์เสียงของระบบไปรษณีย์เสียงหรือคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยได้
3. พื้นที่ซ้อนภาพ
...ในระบบการเรียนการสอนผ่านจอภาพนั้น..ถ้าเป็นระบบหลายจอจะไม่มีปัญหาเรื่องการซ้อนภาพ แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้ระบบมีจอภาพหลักจอเดียวเวลานำเสนอข้อมูล เช่น รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ก็ต้องเสนอเต็มจอ ผู้เรียนจึงจะสามารถอ่านข้อมูลได้ หากจำเป็นจะต้องซ้อนภาพกรอบเล็ก ๆ เข้ามาบนจอหลัก ขนาดของภาพซ้อนควรมีขนาดไม่เกิน 1 ใน 10 ของจอหลักและซ้อนทับลงไปบนตราสัญลัของ

มหาวิทยาลัย
กระบวนการผลิตสื่อโสตทัศน์
1. ระบบการผลิตสื่อโสตทัศน์
ระบบการผลิตสื่อโทรทัศน์โดยทั่วไปมี 8 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ (2) ขั้นวิเคราะห์เนื้อหา (3) ขั้นกำหนดแนวคิด (4) ขั้นวางแผนผลิต (5) ขั้นเตรียมการผลิต (6) ขั้นดำเนินการผลิต (7) ขั้นทดสอบประสิทธิภาพสื่อและ (8) ขั้นปรับปรุงสื่อให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ แต่การผลิต สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาไร้พรมแดน "แผนมทส." จะต้องทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มผลิต (Course Team) กับหน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา (Media Production Center) จึงแบ่งระบบการผลิตออกเป็น 5 ระยะคือ
1.0 กำหนดความต้องการ
2.0 เตรียมการผลิต
3.0 ดำเนินการผลิต
4.0 ทดสอบประสิทธิภาพ
5.0 จัดเก็บและให้บริการ


ภาพแสดงแบบจำลองระบบการผลิตสื่อโสตทัศน์


1.0 กลุ่มผลิตกำหนดความต้องการ ขั้นนี้เป็นงานในหน้าที่ของกลุ่มผลิตรายวิชาในการพัฒนาการเรียนการสอน และผลิตสื่อการสอนโดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน วิเคราะห์เนื้อหา กำหนดแนวคิดและลักษณะของสื่อที่ต้องการใช้


2.0 เตรียมการผลิต ขั้นนี้มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน 3 แบบ คือ2.1 กลุ่มผลิตดำเนินการผลิตด้วยตนเอง หรือบันทึกการสอนจริงของผู้สอน เช่น เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ หรือภาพถ่าย เป็นต้น แล้วส่งไปดำเนินการต่อในขั้น 4.02.2 กลุ่มผลิตคัดเลือกสื่อต้นแบบ ในกรณีที่มีแหล่งสื่ออยู่แล้วต้องการจะนำมาดัดแปลง หรือปรับปรุงให้ได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผลิต เมื่อเลือกได้แล้วก็ส่งไปให้หน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษาดำเนินการผลิตต่อในขั้น 3.02.3 กลุ่มผลิตหรือผู้แทน ร่วมกับบุคลากรของหน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา เป็นคณะทำงานวางแผนการผลิต ตามกระบวนการผลิตของสื่อแต่ละประเภทแล้วบุคลากรของหน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษานำมาดำเนินการผลิตในขั้น 3.03.0 หน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษาดำเนินการผลิต ขั้นนี้เป็นขั้นที่มีรายละเอียดในการผลิตครบถ้วนแล้ว จึงเป็นการทำงานด้านการผลิตที่ใช้เครื่องมือทางเทคนิคเฉพาะในหน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา4.0 กลุ่มผลิตร่วมกับหน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพของสื่อ สื่อต้นแบบที่ผลิตขึ้นจากขั้น 3.0 จะถูกนำมาทดสอบความถูกต้องและเหมาะสมทางด้านเนื้อหา และคุณภาพทางเทคนิค ถ้าสื่อไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของหน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษาก็จะต้องย้อนกลับไปปรับปรุง หรือผลิตใหม่ ตามวิถีข้อมูลย้อนกลับ1 หรือวิถีข้อมูลย้อนกลับ 2 แล้วแต่กรณี5.0 หน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษาดำเนินการจัดเก็บและให้บริการ การจัดเก็บของหน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา หมายถึงการแปลงผัน (Transform) การถ่ายโอน (Transfer) ไปเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล พร้อมที่จะให้บริการแก่กลุ่มผลิต ผู้สอน และผู้เรียน2. กระบวนการและวิธีการผลิตสื่อโสตทัศน์สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาไร้พรมแดน เป็นสื่อที่ต้องการคุณภาพสูงในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล จึงมีกระบวนการและวิธีการผลิตเฉพาะที่ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษาจึงต้องเป็นหน่วยงานที่จะกำหนดกระบวนการและวิธีการผลิต พร้อมทั้งการพัฒนาบุคลากรของหน่วยฯ ให้มีขีดความสามารถในการผลิตและให้บริการสื่อโสตทัศน์ด้วย
3. การนำเสนอสื่อโสตทัศน์
.....สื่อโสตทัศน์ทั้งสื่อเสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว แม้จะมีบริบทในการใช้เป็นสื่อเอกเทศก็ตาม แต่ในระบบการศึกษาไร้พรมแดน "แผนมทส." ก็มีฐานะเป็นสื่อเสริมเท่านั้น คือ ใช้ในการสอนเสริม สอนทบทวน หรือสื่อปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มย่อยเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วสื่อโสตทัศน์จะถูกนำไปใช้เป็นสื่อร่วมในระบบสื่อหลักคือ สื่อปฏิสัมพันธ์ สื่อคอมพิวเตอร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมซึ่งการนำเสนอก็จะต้องดำเนินการตามแนวทางในการนำเสนอของสื่อหลักเหล่านั้น
การประเมินผลสื่อโสตทัศน์


.....เนื่องจากสื่อโสตทัศน์มีบริบทในการใช้ร่วมกับสื่ออื่น การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อทาง การเรียนการสอนจริงจังนั้น เป็นเรื่องของการทดสอบระบบสื่อหลักเหล่านั้นทั้งระบบ ซึ่งมีสื่อโสตทัศน์เป็นองค์ประกอบอยู่แล้ว ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพของสื่อโสตทัศน์โดยตรงนั้นเป็นการทดสอบในกระบวนการผลิต ซึ่งมีการทดสอบด้านความสอดคล้องและถูกต้องของเนื้อหา โดยกลุ่มผลิตและการทดสอบคุณภาพด้านเทคนิค โดยบุคลากรทางเทคนิคของหน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา ซึ่งจะต้องทดสอบและปรับปรุงให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของสื่อหลักแต่ละระบบเมื่อได้ผลิตสื่อโสตทัศน์แล้ว ต้องมีการประเมินสื่อในส่วนที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การประเมินประสิทธิภาพ การประเมินคุณภาพ การประเมินผลกระทบ และการประเมินการบริหารและการจัดการ

1. การประเมินผลการเรียน การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งหาพัฒนาการ หรือความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยการนำผลที่ได้จากการทดสอบหลังเรียน (Posttest) มาเทียบกับการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) ซึ่งจะบอกให้ทราบว่า เมื่อผู้เรียนได้เรียนจากสื่อโสตทัศน์แล้วจะมีสัมฤทธิผลทางการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพียงใด
2. การประเมินประสิทธิภาพ ครอบคลุมการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการ (Efficiency of Process - E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Efficiency of Product - E2)
ประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) ประเมินจากกิจกรรมและงานที่ผู้เรียนลงมือทำในระหว่างประกอบกิจกรรมการเรียนจากสื่อโสตทัศน์ เช่น การอภิปราย การตอบคำถาม การทำรายงาน การค้นคว้าทดลอง ที่สามารถนำมาประเมินและตีความได้ ถือเป็นการประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation)
ประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) ประเมินจากผลการสอบหลังเรียนหรือการประเมินสรุป (Summative Evaluation)

3. การประเมินคุณภาพ ครอบคลุมการประเมินคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตและด้านทัศนคติของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นสื่อภาพและสื่อเสียงเอกเทศและที่เป็นส่วนของสื่อประเภทอื่น
การประเมินคุณภาพด้านเทคนิค เป็นการประเมินความเหมาะสมชัดเจนของภาพและเสียงขนาด เนื้อหาสาระ การออกแบบ สีสัน และรูปแบบ
การประเมินด้านทัศนคติ เป็นการประเมินความคิดเห็นและทัศนคติที่ผู้สอนและผู้เรียนมีต่อสื่อภาพและเสียง
4. การประเมินผลกระทบ เป็นการประเมินผลดีและผลเสียที่เกิดจากการใช้สื่อโสตทัศน์ ทั้งโดยเอกเทศและโดยเป็นส่วนหนึ่งของสื่ออื่น
5. การประเมินการบริหารและจัดการ เป็นการประเมินการวางแผน การจัดองค์การ การกำกับควบคุม การสนับสนุน การประสานงาน การบริหารงานบุคลากร การเงินการบัญชี และการสั่งการในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อโสตทัศน์

ไม่มีความคิดเห็น: