04 ตุลาคม 2550

การผลิตสิ่งพิมพ์


ความหมายของการพิมพ์
.....เป็นการจำลองต้นฉบับอันหนึ่งต้นฉบับนี้จะเป็นภาพหรือเป็นตัวหนังสือก็ตาม การพิมพ์ไม่ได้เป็นการสร้างต้นฉบับ แต่เป็นการจำลองต้นฉบับออกมา การถ่ายรูปเป็นการสร้างต้นฉบับไม่ใช่การพิมพ์ แต่การอัดรูป เป็นการจำลองต้นฉบับเป็นการพิมพ์การจำลองนี้จะต้องเป็นการจำลองจำนวนมาก ๆ ไม่ใช่การเขียนลอกแบบภาพออกมาทีละภาพซึ่งไม่เป็นการพิมพ์ ภาพแต่ละแผ่นที่จำลองออกมาต้องเหมือน ๆ กัน การจำลองนั้น จะต้องจำลองบนวัตถุที่เป็นพื้นแบน หรือใกล้เคียงกับพื้นแบน แม้การพิมพ์บนขวด บนหลอดยาสีฟันที่แม้เป็นรูปแล้วจะไม่มีลักษณะแบนทีเดียว แต่พื้นผิวที่พิมพ์เรียบแบนไม่ขรุขระ
วิวัฒนาการพิมพ์
.....จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่บนผนังถ้ำลาสคัวกซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปรากฏผลงานด้านจิตรกรรมที่มีคุณค่าด้านความงามของมนุษยชาติในช่วงประมาณ 17,000-12,000 ปีที่ผ่านมาแล้ว ยังปรากฏผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้ นอกจากนั้น ยังปรากฏการณ์เริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stencil) อีกด้วย โดยวิธีใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฏเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนับว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ วิธีการหนึ่ง (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2523 : 9) ในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก กลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาล (5,000 B.C.)เมื่อ 1300 ปีก่อนคริสต์กาล จีนได้คิดหนังสือขึ้นใช้โดยเขียนบนใบลานและเขียนบนไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ แล้วร้อยเชือกให้อยู่เป็นปึกเดียวกันม้วนคลี่อ่านได้ (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2527 : 31) ต่อมาเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนเริ่มเขียนหนังสือบนผ้าไหม หลังจากนั้นประมาณ 255 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนรู้จักการแกะสลักลงบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์ งาช้าง และนำไปประทับบนขี้ผึ้งหรือดินเหนียว (วิษณุ สุวรรณเพิ่ม, 2531 : 30) ชาวจีนชื่อ ไซลัน (Silan) คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และกลายเป็นวัสดุสำคัญสำหรับการเขียนและการพิมพ์ในเวลาต่อมา (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม, 2530 : 3)



.....หนังสือกรีกเป็นหนังสือแบบม้วน กว้างประมาณ 10 นิ้ว และยาวถึง 35 ฟุต ลักษณะการเขียนใช้วิธีเขียนเป็นคอลัมน์ กว้างประมาณ 3 นิ้วเว้นช่องว่างระหว่างคอลัมน์ไว้เป็นขอบชาวอังกฤษและโรมัน นิยมเขียนหนังสือบนแผ่นไม้ ซึ่งเป็นไม้จากต้นบีช (Beech) ซึ่งภาษาแองโกล-แซกซอนเรียกว่า "BOC" จึงเป็นคำที่มาของคำว่า "Book" ในภาษาอังกฤษพวกโรมันมีวิธีรวมเล่มหนังสือ โดยการเจาะรูแผ่นไม้แล้วร้อยด้วยวงแหวน และเรียกหนังสือนี้ว่า โคเค็กซ์ (Codex) ซึ่งเรียกว่าหนังสือแผ่นแผ่นไม้ที่ใช้เขียนหนังสือ มีลักษณะที่แปลก คือ แผ่นไม้จะเคลือบด้วยกาวผสมชอลก์หลายๆชั้น ซึ่งจะแข็งตัวเมื่อแห้งสนิทดีแล้ว และเคลือบพับด้วยขี้ผึ้งสีดำบางๆ ดังนั้นเวลาเขียนด้วยเหล็กจาร ก็จะปรากฏเป็นตัวอักษรสีขาวบนพื้นดำ แผ่นเคลือบนี้ใช้สำหรับการเขียนที่ไม่ถาวรเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถลบได้ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญที่จะเก็บบันทึกไว้ พวกโรมันก็จะใช้กระดาษม้วนปาไปรัสแบบกรีกแทนจุดกำเนิดของหนังสือที่มีลักษณะเหมือนในยุคปัจจุบัน เริ่มจากในคริสตศตวรรษที่ 1 มีการนำหนังสือที่เขียนบนแผ่น กระดาษปาไปรัสผนึกทับบนกระดาษคู่หนึ่ง ซึ่งพับเข้าหากันได้คล้ายกับหนังสือที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ พวกโรมันชอบหนังสือแบบนี้มาก เพราะนำติดตัวได้ง่าย และสามารถเอาเนื้อหามาวางเทียบกันได้จึงรับหนังสือแผ่นนี้มาใช้ หนังสือม้วนจึงถูกยกเลิกไปราวๆคริสตศวรรษที่ 4


วิวัฒนาการนำหนังมาเป็นหนังสือม้วน เกิดขึ้นเมื่อราว 200 ปี ก่อนคริสตกาลหนังที่นำมาใช้ต้องผ่านการฟอกและ ขัดจนเรียบ ราคาจึงแพง แต่มีข้อได้เปรียบกว่ากระดาษปาไปรัส เพราะใช้เขียนได้ 2 หน้า และสามารถวาดภาพด้วยสีน้ำมันได้ ทั้งเก็บได้หนากว่าสีน้ำหรือสีหมึกในคริสตวรรษที่ 6 มีการตั้ง "โรงเรียน" (Scriptoria) ขึ้นในอิตาลี เป็นที่สำหรับใช้ให้ บรรดาพวกพระทำการคัดลอกและเขียนต้นฉบับหนังสือ วิธีการนี้ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป หนังสือที่เกิดจากฝีมือ พวกพระในสมัยระหว่างคริสตศตวรรษ ที่ 5-15 นี้ เขียนบน แผ่นหน้าเป็นส่วนมาก ใช้แผ่นหนัง 4 ผืน ซ้อนกันแล้วพับครึ่ง เย็บด้ายตรงรอยพับ นับเป็นยกหนึ่ง ซึ่งจะเท่ากับ 8 แผ่น หรือ 16 หน้า จะเขียนทีละหน้าและมี การประดิษฐ์หัวเรื่องให้ สวยงาม โดยใช้สีต่างๆอักษรตัวแรก ของประโยคก็เป็นอักษร ประดิษฐ์เช่นเดียวกัน เมื่อเขียนเสร็จ มีการตรวจทานให้ถูกต้อง และส่งไปทำปกในส่วนของปกก็มีการ ออกแบบลวดลาย ให้สวยงาม

ในคริสตศตวรรษที่ 13 มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในยุโรปหลายแห่ง ความต้องการหนังสือตำราต่างๆมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยจึงจ้างเสมียนคัดลอกและเก็บรักษาหนังสือสำหรับให้นักศึกษาและอาจารย์ได้เข้าไปใช้และเมื่อมีการนำกระดาษมาใช้แทนหนังราคาหนังสือก็ถูกลง จึงมีการทำขายแทนการเช่า การผลิตหนังสือก็ต้องเปลี่ยนโฉมหน้าให้ทันกับความต้องการ ทั้งปริมาณ และความรวดเร็ว ดังนั้น การสนใจเรื่องการประดิษฐ์เพื่อความสวยงามก็ลดน้อยลงไป ทัศนะเดิมที่เคยถือกันว่า"หนังสือเป็นงานอวดฝีมือ และศิลปะ" ก็เปลี่ยนมาเป็น "หนังสือเพื่อความรู้"แทนและเมื่อโจฮัน กูเต็นเบิร์ก ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สำเร็จในราวกลาง คริสตศตวรรษที่ 15 ก็ทำให้หนังสือเปลี่ยนโฉมหน้าเข้าสู่ยุคการพิมพ์ จึงเป็นการสิ้นสุดหนังสือยุคก่อน การพิมพ์ (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2515 : 29-33)
การพิมพ์ทางตะวันตก
.....ประเทศตะวันตกนั้น หมายถึง กลุ่มประเทศในทวีปยุโรปซึ่งเคยมีความเจริญด้านเทคโนโลยีมาก่อนทวีปอื่น ๆ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ยุโรปตกอยู่ในยุคมืด หรือยุคกลาง (Midieval age) การเผยแพร่วิทยาการเป็นไปอย่างเชื่องช้า เพราะเอกสาร ตำรา ยังเป็นลายมือเขียน ตำราแต่ละเล่มจึงมีจำนวนน้อย และมีราคาแพง ทำให้วิชาความรู้จำกัดอยู่แต่หมู่คนชั้นสูงเฉพาะวงแคบครั้นต่อมาการพิมพ์ได้พัฒนาขึ้น สามารถผลิตหนังสือได้อย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมาก ความรู้วิทยาการทั้งหลายจึงแพร่กระจายสู่มือของสามัญชนอย่างมากมาย เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ในยุโรป (mills, 1968 : 590)
เป็นที่ยอมรับกันว่า ผู้ที่ค้นคิดวิธีพิมพ์อย่างเป็นระบบเป็นคนแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาของการพิมพ์" ได้แก่ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) เพราะเขาได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ พัฒนาแม่แบบสำหรับหล่อตัวพิมพ์โลหะเป็นตัว ๆ สามารถที่จะเรียงเป็นคำ เป็นประโยคและเมื่อใช้พิมพ์ไปแล้วก็สามารถนำกลับมาเรียงใหม่ เพื่อใช้พิมพ์หมุนเวียนได้อีก ซึ่งเรียกว่า เป็นวิธี Movable อันเป็นต้นกำเนิดของการพิมพ์เลตเตอร์เพรส์ส ตลอดจนการค้นคิดวิธีการทำหมึกที่ได้ผลดี สำหรับใช้ตัวเรียงโลหะ



.... ค.ศ. 1495 Albrecht Durer ศิลปินแกะไม้ชาวเยอรมัน ซึ่งเคยเป็นจิตรกรช่างเขียนภาพได้คิดวิธีพิมพ์จากแม่พิมพ์ทองแดง (Copper plate engraving) โดยการใช้ของแหลมขูดขีดให้เป็นรูปรอยบนแผ่นทองแดง และใช้พิมพ์แบบ Gravure เป็นครั้งแรกในเยอรมัน (กำธร สถิรกุล : 189)
.....ต่อมาในปี ค.ศ. 1793 ชาวเยอรมัน ชื่อ (อะลัวร์ เซเนเฟลเดอร์) Alois Senefelder ได้ค้นพบวิธีการพิมพ์หิน (Lithography) ซึ่งเป็นวิธีการพิมพ์แบบพื้นราบ (Planographic printing) ขึ้นได้เป็นคนแรกค.ศ. 1904 ไอรา วอชิงตัน รูเบล (Ira Washington Rubel) (กำธร สถิรกุล, 2515 : 194) ช่างพิมพ์ชาวอเมริกันได้สังเกตเห็นว่า ในการป้อนกระดาษเข้าพิมพ์โดยแท่น Cylinder press บางครั้งลืมป้อนกระดาษเข้าไป หมึกจะพิมพ์ติดบนลูกกลิ้งแรงกด และเมื่อป้อนกระดาษแผ่นถัดไปหมึกบนตัวพิมพ์จะ ติดบนกระดาษ หน้าหนึ่ง แต่หมึกบนลูกกลิ้งก็จะติดกระดาษอีกหน้าหนึ่ง เมื่อสังเกตดูแล้วพบว่า หมึกที่ติดบนลูกกลิ้งก่อนที่จะติดบนกระดาษนั้น จะมีลักษณะสวยงามกว่า หมึกที่พิมพ์จากตัวพิมพ์ไปติดกระดาษโดยตรง จึงได้คิดวิธีพิมพ์ระบบ Off Set Printing ขึ้น
.....ค.ศ. 1907 แซมมวล มิลตัน (Samuel Simon) แห่งเมือง Machester ได้ปรับปรุงการพิมพ์ระบบ Silk Screen และ จดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่ประเทศอังกฤษประมาณ 255 ปีก่อนคริสต์กาล ในภูมิภาคแถบเอเชียตอนกลาง และจีน ได้รู้จักการแกะสลักดวงตราบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์และงาช้าง เพื่อใช้ประทับลงบนดินเหนียว บนขี้ผึ้งซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นต้นตอของแม่พิมพ์เลตเตอร์เพรส์ส(Letter press)โดยจะเห็นได้จากพงศาวดารจีนโบราณองค์จักรพรรดิ จะมีตราหยกเป็นตราประจำแผ่นดิน ค.ศ. 105 ชาวจีน ชื่อ ไซลั่น คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และได้กลายเป็นวัสดุสำคัญสำหรับการเขียน และการพิมพ์ในเวลาต่อมาค.ศ. 175 ได้มีการใช้เทคนิคพิมพ์ถู (Rubbing) ขึ้นในประเทศจีน โดยมีการแกะสลักวิชาความรู้ไว้บนแผ่นหิน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้นำกระดาษมาวางทาบบนแผ่นหินแล้วใช้ถ่านหรือสีทาลงบนกระดาษ สีก็ติดบนกระดาษในส่วนที่หินนูนขึ้นมา เทคนิคนี้ดูจะเหมือนกับการถู ลอกภาพรามเกียรติ์ที่แกะสลักบนแผ่นหินอ่อนที่วัดโพธิ์ ในทุกวันนี้ (กำธร สถิรกุล, 2515 : 185) ในปี ค.ศ. 400 ชาวจีนรู้จักการทำหมึกแท่งขึ้นใช้ โดยใช้เม่าไฟเป็นเนื้อสี (Pingment) ผสมกาวเคี่ยวจากกระดูกสัตว์ หนังสัตว์ และเขาสัตว์ เป็นตัวยืด (Binder) แล้วทำให้แข็งเป็นแท่ง ชาวจีนเรียกว่า "บั๊ก" ต่อมาในราวปี ค.ศ. 450 การพิมพ์ด้วยหมึกบนกระดาษจึงเกิดขึ้นโดยใช้ตราจิ้มหมึก แล้วตีลงบนกระดาษ เช่นเดียวกับการประทับตรายางในปัจจุบัน (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2527 : 82)

การพิมพ์ประเภททางตะวันออก
..... ประมาณ 255 ปีก่อนคริสต์กาล ในภูมิภาคแถบเอเชียตอนกลาง และจีน ได้รู้จักการแกะสลักดวงตราบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์และงาช้าง เพื่อใช้ประทับลงบนดินเหนียว บนขี้ผึ้งซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นต้นตอของแม่พิมพ์เลตเตอร์เพรส์ส(Letter press)โดยจะเห็นได้จากพงศาวดารจีนโบราณองค์จักรพรรดิ จะมีตราหยกเป็นตราประจำแผ่นดิน ค.ศ. 105 ชาวจีน ชื่อ ไซลั่น คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และได้กลายเป็นวัสดุสำคัญสำหรับการเขียน และการพิมพ์ในเวลาต่อมาค.ศ. 175 ได้มีการใช้เทคนิคพิมพ์ถู (Rubbing) ขึ้นในประเทศจีน โดยมีการแกะสลักวิชาความรู้ไว้บนแผ่นหิน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้นำกระดาษมาวางทาบบนแผ่นหินแล้วใช้ถ่านหรือสีทาลงบนกระดาษ สีก็ติดบนกระดาษในส่วนที่หินนูนขึ้นมา เทคนิคนี้ดูจะเหมือนกับการถู ลอกภาพรามเกียรติ์ที่แกะสลักบนแผ่นหินอ่อนที่วัดโพธิ์ ในทุกวันนี้ (กำธร สถิรกุล, 2515 : 185) ในปี ค.ศ. 400 ชาวจีนรู้จักการทำหมึกแท่งขึ้นใช้ โดยใช้เม่าไฟเป็นเนื้อสี (Pingment) ผสมกาวเคี่ยวจากกระดูกสัตว์ หนังสัตว์ และเขาสัตว์ เป็นตัวยืด (Binder) แล้วทำให้แข็งเป็นแท่ง ชาวจีนเรียกว่า "บั๊ก" ต่อมาในราวปี ค.ศ. 450 การพิมพ์ด้วยหมึกบนกระดาษจึงเกิดขึ้นโดยใช้ตราจิ้มหมึก แล้วตีลงบนกระดาษ เช่นเดียวกับการประทับตรายางในปัจจุบัน (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2527 : 82)
.....สำหรับชิ้นงานพิมพ์ซึ่งเก่าแก่ที่สุด และยังคงหลงเหลืออยู่ได้แก่การพิมพ์โดยจักรพรรดินีโชโตกุ (Shotoku) แห่งประเทศญี่ปุ่น ในราว ค.ศ. 770 โดยพระองค์รับสั่งให้จัดพิมพ์คำสวดปัดรังควานขับไล่วิญญาณ หรือผีร้ายให้พ้นจากประเทศญี่ปุ่น และแจกจ่ายไปตามวัดทั่วอาณาจักรญี่ปุ่น เป็นจำนวนถึงหนึ่งล้านแผ่น ซึ่งต้องใช้เวลาตีพิมพ์ เป็นเวลาถึง 6 ปี (สนั่น ปัทมะทิน, 2513 : 121) จีนนิยมใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะไม้ และพัฒนาขึ้นตามลำดับ ในปี ค.ศ. 868 ได้มีการพิมพ์เป็นหนังสือเล่มแรกมีลักษณะเป็นม้วน มีความยาว 17 ฟุต กว้าง 10 นิ้ว โดยวาง เซียะ (Wang Chieh) ซึ่งยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบันหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า วัชรสูตร (Diamond Sutra) (กำธร สถิรกุล, 2515 : 187)



.....ประมาณปี ค.ศ. 1041-1049 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์นูนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจากเดิมที่ใช้การแกะไม้เป็นแม่พิมพ์ (เรียกว่า Block) แม่พิมพ์ดังกล่าวสามารถพิมพ์ได้เพียงรูปแบบเดียว มาเป็นการใช้แม่พิมพ์ชนิดที่หล่อขึ้นเป็นตัว ๆ และนำมาเรียงให้เป็นคำเป็นประโยค ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "ตัวเรียงพิมพ์ (Movable Pype) เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว จะสามารถนำกลับไปเก็บ และสามารถนำมาผสมคำใหม่ในการพิมพ์ครั้งต่อ ๆ ไปได้ ผู้ที่ค้นพบวิธีการใหม่นี้เป็นชาวจีน ชื่อ ไป เซ็ง (Pi Sheng) โดยใช้ดินเหนียวปั้นให้แห้ง แล้วนำไปเผาไฟ
...การสร้างตัวเรียงพิมพ์โลหะ เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเกาหลีเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1241 ได้มีการหล่อตัวพิมพ์โลหะขึ้นเป็นจำนวนมากตามดำริของกษัตริย์ไทจง (Htai Tjong) (Lechene, 1974 : 1053

วิวัฒนาการด้านการพิมพ์ของชาวตะวันออก (จีน เกาหลี และญี่ปุ่น) นั้น แม้ว่าจะได้เป็นผู้บุกเบิกการพิมพ์เป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้พัฒนาการพิมพ์หนังสือให้เจริญจนถึงขีดสูงสุด (แต่กลับมีความเจริญด้านศิลปะภาพพิมพ์ไม้ในประเทศญี่ปุ่นในยุคหลัง) ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุได้หลายประการ ดังนี้
1.การพิมพ์ของจีน ได้กระทำในวงแคบเนื่องจากมีผู้รู้หนังสือน้อย
เพราะมีภาษาที่ใช้แตกต่างกันหลายแบบในแต่ละภูมิภาค
2. ตัวอักษรจีนเป็นอักษรประเภทหนังสือภาพ (Pictograph)
หมายถึงคำพูดหนึ่งคำ ก็ต้องมีตัวอักษรหนึ่งตัว จึงปรากฏว่า มีตัวอักษรเป็นจำนวนมากนับพันตัว ไม่สะดวกต่อการใช้ตัว เรียงพิมพ์แต่เหมาะที่จะใช้การแกะแม่พิมพ์ไม้ หรือการกัดบล็อก ซึ่งสิ้นเปลืองเวลาและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
3.วัตถุประสงค์ แห่งการพิมพ์ของชาวจีน มิได้เป็นการขยายตัว หรือเผยแพร่วิทยาการเหมือนกับประเทศทางตะวันตก แต่เป็นการพิมพ์เพื่ออนุรักษ์ คัมภีร์ หรือบทกวีเอาไว้เท่านั้น
... ดังนั้น พัฒนาการด้านการพิมพ์ที่ขยายตัวมากยิ่งขึ้นจึงกลับไปปรากฏทางประเทศตะวันตกและมีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน
การพิมพ์ในประเทศไทย


.....แม้ว่าประเทศไทย จะอยู่ใกล้กับประเทศจีน แต่ในด้านการพิมพ์แล้ว การพิมพ์ของไทย กลับได้รับอิทธิพล และรูปแบบการพิมพ์จากประเทศทางตะวันตกมากตั้งแต่ต้น ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) โดยมิชันนารีฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาสอนศาสนาในสมัยนั้น จากจำนวนบาทหลวงที่เข้ามายังประเทศไทยมีสังฆราชองค์หนึ่งชื่อ ลาโน (Mgr Laneau) ได้ริเริ่มแต่ง และพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้นนัยว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพอพระทัยการพิมพ์ตามวิธีฝรั่งของสังฆราชลาโน ถึงกับทรงโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่เมืองลพบุรี เป็นส่วนของหลวงอีกโรงพิมพ์หนึ่งต่างหาก (อำไพ จันทร์จิระ, 2512 : 73-74) และต่อมาภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชา ได้ขับไล่บาทหลวงฝรั่งเศสออกจากราชอาณาจักรสยาม กิจการพิมพ์ในสมัยอยุธยาจึงหยุดชะงัก และไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการพิมพ์หลงเหลืออยู่
.....การพิมพ์สมัยกรุงธนบุรี เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ (ฟ. ฮีแลร์, 2513 : 36) ได้กล่าวถึงการพิมพ์ในสมัยนั้นว่า ในสมัยพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี เมื่อบ้านเมืองเป็นปกติแล้ว บาทหลวงคาทอลิก ชื่อคาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนา จัดตั้งโรงพิมพ์ และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎิจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็น ปี ค.ศ. 1796 (พ.ศ. 2339) ซึ่งคาบเกี่ยวมาถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสันนิษฐานได้ว่า แม่พิมพ์คงใช้วิธีการแกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้า ๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงพิมพ์โลหะ
ในปี พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) ได้มีการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีอเมริกัน และเข้ามาดำเนินกิจการทางศาสนาในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นางมีความสนใจภาษาไทยจากเชลยชาวไทยในพม่า และได้ดำเนินการหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาตัวแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ได้ถูกนำไปยังเมืองกัลกัตตา ประเทศพม่า และมีผู้ซื้อต่อโดยนำมาไว้ที่เมืองสิงคโปร์ นักบวชอเมริกันได้ซื้อตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์ดังกล่าวแล้วนำมาสู่เมืองไทยอีกทีหนึ่ง โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions (กำธร สถิรกุล, 2515 : 198)
การหล่อตัวพิมพ์ในประเทศไทย หมอบรัดเลย์ (Dr.Dan Beach Bradley) ชาวอเมริกัน นับได้ว่าเป็นบุคคลแรกที่ได้กระทำขึ้น โดยหมอบรัดเลย์รู้สึกว่าตัวพิมพ์ไทยแบบเดิมมีลักษณะที่ไม่สวยงาม จึงได้คิดประดิษฐ์ตัวพิมพ์ขึ้นใหม่ให้น่าอ่านกว่าเดิม และทำได้ สำเร็จในปี พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) โดยขั้นแรกยังหล่อตัวพิมพ์เองไม่ได้ ต้องสั่งช่างหล่อเข้ามาจากสิงคโปร์ (วัลลภ สวัสดวัลลภ, 2527 : 109) สำหรับการพิมพ์หนังสือขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยนั้น บาทหลวงชาร์ล โรบินสัน (Reverand Robinson) มิชันนารีอเมริกัน ได้จัดพิมพ์ขึ้น
จากแท่นพิมพ์ที่ทำด้วยไม้และแม่พิมพ์หิน (รวมทั้งตัวพิมพ์ ซึ่งนำเข้ามาจากสิงคโปร์ หนังสือฉบับนี้มี 8 หน้า เกี่ยว กับบัญญัติ 10 ประการ(Ten Commandments) พิมพ์แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2379 (ค.ศ. 1836)(อำไพ จันทร์จิระ, 2516 : 88-89) หมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย ในตอนแรกมีความตั้งใจที่จะมาเผยแพร่คริสต์ศาสนา โดยอาศัยการนำวิธีการแพทย์ สมัยใหม่มาเป็นเครื่องจูงใจ ซึ่งหมอบรัดเลย์ก็ได้นำวิชาการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาหลายอย่างเช่น การปลูกฝี การทำหนองฝี การฉีดยา การใช้ยาสลบในการผ่าตัด การตรวจรักษาตามวิชาการแพทย์สมัยใหม่ แต่เมื่อมาอยู่ เมืองไทย ได้ระยะหนึ่ง และได้ริเริ่มจับงานพิมพ์ หมอบรัดเลย์กลับมาสนใจเรื่องการพิมพ์โดยได้ดำเนินการธุรกิจ ด้านการพิมพ์มากมายหลายอย่างขึ้นในเมืองไทยจนแทบจะพูดได้ว่าได้เริ่มต้นงานทุกอย่างที่เกี่ยวกับการพิมพ์ใน เมืองไทย อาทิ


พ.ศ. 2382 ได้ให้โรงพิมพ์มิชชันนารีอเมริกันรับจ้างพิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้าง พิมพ์จำนวน 9,000 ฉบับ นับว่าเป็นเอกสารทางราชการชิ้นแรกที่จัดพิมพ์ขึ้น
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ได้ออกหนังสือพิมพ์เป็นฉบับแรกขึ้นในเมืองไทย ซึ่ง บางกอกรีเคอร์ดอร์ (Bangkok Recorder) ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 หมอบรัดเลย์ได้ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยและจัดพิมพ์ขายขึ้นเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นการเริ่มต้นของการซื้อขายลิขสิทธิ์ และการพิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายในเมืองไทย (กำธร สถิรกุล, 2515 : 204) หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2414 นับได้ว่าเป็นผู้เริ่มต้นกิจการพิมพ์ขึ้นในเมืองไทยอย่างเป็นระบบ และเป็นรากฐานแก่การพิมพ์ของไทยมาจนปัจจุบัน สมควรยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งการพิมพ์ไทย" (ศิริพงษ์ พยอมแย้ม, 2530 : 9)


...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นคนไทยพระองค์แรกที่เริ่มต้นกิจการพิมพ์ของไทย ครั้งที่ดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ และทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารได้ทรงดำรงจะนำการพิมพ์มาใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนา โปรดใช้สั่งเครื่องพิมพ์มาตั้งไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และให้แกะตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะ ใช้พิมพ์หนังสือสอนศาสนา เช่น พระปาติโมกข์บ้าง หนังสือสวดมนต์บ้าง โดยมีพระสงฆ์ในวัดเป็นผู้จัดพิมพ์
ครั้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2394 เจ้าฟ้ามงกุฎได้ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังคงสนพระทัย และทรงเล็งเห็นความสำคัญของการพิมพ์อยู่เช่นเดิม พระองค์ได้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระมหาราชวัง ขนานนามว่า โรงพิมพ์อักษรพิมพ์การและได้พิมพ์ผลงานชิ้นแรกออกมาคือ หนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อปี
พ.ศ. 2401 (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2527 : 121-123)
พระราชกรณียกิจของพระองค์จึงนับว่าสำคัญมากต่อกิจการพิมพ์ และการพิมพ์หนังสือของเมืองไทย นับจากนั้นเป็นต้นมาการ พิมพ์ไทยได้เริ่มเข้าสู่ยุคพัฒนาและขยายเป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์อย่างแพร่หลายมาเป็นลำดับ และมีความสำคัญในการส่งเสริม งานด้านการศึกษา วัฒนธรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมให้มีความเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน (สูจิบัตรงานวันการพิมพ์ไทย,2543 : 105)

อยากให้อ่านจัง

ความละเอียดของรูปภาพ
.....หมายถึง จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว ( pixels per inch - ppi ) โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ถ้ารูปภาพมีความละเอียด 300 dpi เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์สามารถพิมพ์ได้ 300 dpi นั่นคือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะใช้ 1 จุดสำหรับแต่ละพิกเซลของภาพ


ความละเอียดของจอภาพ
.....หมายถึง หน่วยของจำนวนจุดที่มากที่สุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตได้ โดยความละเอียดในการแสดงผลของจอ จะขึ้นกับวีดีโอการ์ด ที่เรียกว่าการ์ดจอ ซึ่งจะมีความสามารถในการแสดงผลหลากหลาย เช่น แสดงผลที่ความละเอียด 800 x 600 พิกเซล หมายถึง จำนวนพิกเซลในแนวนอน เท่ากับ 800 และจำนวนพิกเซลในแนวตั้ง เท่ากับ 600

ความละเอียดของเครื่องพิมพ์
.....คือ จำนวนจุดเลเซอร์ที่เครื่องพิมพ์สามารถผลิตได้ต่อนิ้ว เช่น ถ้าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์มีความละเอียด 300 จุดต่อนิ้ว
( dots per inch – dpi ) นั่นคือ เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้ 300 จุดทุกๆ 1 นิ้ว

ความละเอียดของอิมเมจเซตเตอร์

.....อิมเมจเซตเตอร์ (Imagesetter) คือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ที่มีคุณภาพสูง สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษถ่ายภาพ หรือฟิล์มก็ได้ โดยสามารถพิมพ์รูปภาพให้ความละเอียด 1800 dpi ถึง 3000 dpi

ความละเอียดในการแสดงผล ( Resolution )

.....คำนี้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ความละเอียดของการแสดงผลของเครื่องพิมพ์ หรือความละเอียดในการแสดงผของจอภาพ ดังนั้นความละเอียดในการแสดงผลจึงหมายถึง จำนวนหน่วยต่อพื้นที่

ภาพกราฟิก


ภาพกราฟิกสวย..สวย!!!


ภาพกราฟิกสวย..สวย!!!


ภาพกราฟิกสวย..สวย!!!


ภาพกราฟิกสวย..สวย!!!


ภาพกราฟิกสวย..สวย!!!


ภาพกราฟิกสวย..สวย!!!

ความหมายของมัลติมีเดีย

....."มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือ สื่อหลายแบบ" เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ สามารถผสมผสานกันระหว่าง ข้อความ ข้อมูลตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ไว้ด้วยกัน ตลอดจน การนำเอาระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน
นอกจากนี้ มีผู้ให้นิยามศัพท์ไว้หลายท่าน ดังนี้
Robert Aston, Joyce Schwarz
.....Computer control of the combination of text, graphics, audio, video and animation data
Tay Vaughan
.....Multimedia is any combination of text, graphic, art, sound, animation and video that is delivered by computer. When you allow the user the viewer of the project to control what and when these elements are delivered, it is interactive multimedia. When the user can navigate, interactive multimedia becomes hypermedia
Nicholas Negroponte
.....True multimedia is interactive digital information which can be viewed in many different ways by the user. Moreover in multimedia, there does not have to be a trade-off between depth and breadth; the user can explore a topic as broadly and as deeply as she or he desires


ประเภทของโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก

1. Photo Retouching
.....โปรแกรมที่เหมาะสำหรับการแก้ไข ตกแต่งภาพ และ ทำเอฟเฟกต์ให้กับภาพที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว ซึ่งอาจจะ มาจากภาพถ่ายจริง ได้แก่ Adobe PhotoShop, Corel Photopaint, PaintShop



2. Graphic Illustrator
.....โปรแกรมสำหรับการออกแบบงานกราฟิก หรืองาน Lay out ซึ่งเป็นงานสองมิติ มีการเขียนรูปในลักษณะการเน้น เส้นเน้นรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งไม่ใช่รูปถ่าย ได้แก่ Adobe Illustrator, CorelDraw



3. Computer Aided Design
.....โปรแกรมสำหรับการเขียนภาพที่แสดงออกถึงมิติ ขนาด ที่ ให้ความชัดเจนของวัตถุที่ต้องการสร้างขึ้นมา ได้แก่ Auto CAD, Prodesign



4. 3D Photo Realistic
.....โปรแกรมที่สามารถสร้างภาพสามมิติ ที่มีมวลและปริมาตร และมีคุณสมบัติของพื้นผิว จนเกิดความสมจริงของแสง และเงา ได้แก่ 3D studio MAX, Auto CAD 3D



5. Presentation
.....โปรแกรมกราฟิก สำหรับช่วยในการนำเสนองาน ใน ลักษณะเป็นสไลค์ประกอบคำบรรยาย มีการสร้างภาพ กราฟฟิกที่ดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้น เช่น กราฟชนิดต่าง ๆ หรือการสร้างแผนผังการจัดองค์กร โปรแกรมประเภทนี้ ส่วนมากใช้ในงานธุรกิจ



6. Animation
.....เป็นโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวตามลำดับ โปรแกรมจะ แสดงภาพเป็นลำดับให้แลดูเหมือนภาพเคลื่อนไหว โดย อาจมีเทคนิคต่างๆ ประกอบการแสดงภาพเช่น การซ้อน ภาพ , เลื่อนภาพ, การเลื่อนภาพให้หายไปได้ และ การ แปลงภาพ รวมถึงมีลักษณะการโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วย